Integrated ecological approach for sustainable watershed management : a case study on petchaburi watershed, Thailand
Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2004
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | , , |
Format: | Book |
Published: |
Chulalongkorn University,
2013-11-15T11:08:01Z.
|
Subjects: | |
Online Access: | Connect to this object online. |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Summary: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2004 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาตัวบ่งชี้ทางนิเวศวิทยา และทางเศรษฐสังคมที่สามารถนำมาผสมผสานเพื่อเป็นแผนปฏิบัติการในการจัดการลุ่มน้ำที่ยังยืน โดยแบ่งลุ่มน้ำเพชรบุรีออกเป็น 3 ระบบย่อย คือ บริเวณลุ่มน้ำตอนบน บริเวณเขื่อนแก่งกระจานและบริเวณลุ่มน้ำตอนล่างจนถึงบริเวณปากแม่น้ำตามลำดับ ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ลุ่มน้ำทั้ง 3 ระบบย่อย มีสภาพทางนิเวศวิทยาที่แตกต่างกัน โดยอาศัยหลักการการนำเข้าและส่งออก โดยพบว่า ลุ่มน้ำระบบย่อยที่ 1 และลุ่มน้ำระบบย่อยที่ 3 มีสารอาหารออกจากระบบเป็นปริมาณมาก พบว่า ปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจนที่นำเข้าและออกจากระบบนิเวศย่อย มีความแตกต่างกันในแต่ละระบบนิเวศย่อยที่ 1,2 และ 3 เรียงตามลำดับคือ 47.46 ± 44.04 และ 6.77 ± 6.72, และ 6.77 ± 6.72 และ 4.50 ± 7.16, 4.50 ± 7.16 และ 54.20 ± 51.11 / 62.90 ± 51.87 ug/l ปริมาณฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส ที่นำเข้าและออกจากระบบนิเวศย่อย มีความแตกต่างกันในแต่ระบบนิเวศย่อยที่ 1, 2 และ 3 เรียงตามลำดับคือ 6.67 ± 5.44 และ 2.66 ± 2.24, และ 2.66 ± 2.24 และ 1.99 ± 3.31, 1.99 ± 3.31 และ 84.70 ± 34.98 / 88.96 ± 29.18 ug/l ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า สารอาหารที่เข้าสู่ระบบ และออกจากระบบของระบบนิเวศย่อยที่ 1 และ 3 ไม่สมดุลกัน ส่วนในระบบนิเวศย่อยที่ 2 สารอาหารที่เข้าสู่ระบบและออกจาระบบมีความสมดุลกัน เมื่อพิจารณาความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ เอ พบว่าปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจนอย่างมีนัยสำคัญยิ่งที่ระดับ p = 0.05 โดยมีค่าความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ เอ ที่จุดน้ำเข้า และออกจากระบบในระบบนิเวศย่อยที่ 1, 2 และ 3 เรียงตามลำดับคือ 1.33 ± 0.98 และ 9.77 ± 5.22, 9.77 ± 5.22 และ 16.16 ± 9.69, 16.16 ± 9.69 และ 93.58 ± 28.91 / 44.35 ± 18.34 mg/m3 เมื่อพิจารณาระบบนิเวศลุ่มน้ำเพชรบุรีโดยรวมแล้วบ่งชี้ว่าระบบสูญเสียปริมาณสารอาหารออกจากระบบเป็นปริมาณ ดังนั้น การใช้ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจน และปริมาณฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส จึงเป็นดัชนีที่สามารถใช้ตรวจสอบสภาวะทางนิเวศวิทยาของลุ่มน้ำแต่ละระบบย่อย นอกจากนั้น ปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจนและฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส ยังสัมพันธ์กับแพลงก์ตอนพืชที่เป็นกลุ่มเด่น ตลอดจนค่าตะกอนแขวนลอย สามารถใช้พิจารณาร่วมกัน เพื่อการติดตามตรวจสอบสภาพของระบบนิเวศลุ่มน้ำ และระบบนิเวศลุ่มน้ำระบบย่อยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ปัญหาสำคัญของลุ่มน้ำเพชรบุรี คือ ปัญหาคุณภาพน้ำและดินเสื่อมโทรมลง การใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็นซึ่งทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการเกษตรสูง การพังทลายของดิน และการตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ข้อมูลทางเศรษฐสังคมและรูปแบบการใช้ที่ดิน ได้ถูกนำมาพิจารณาร่วมกันด้วยหลักการองค์รวมของทั้งระบบลุ่มน้ำ การศึกษาด้านเศรษฐสังคมด้วยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในลุ่มน้ำจำนวน 409 คน ในลุ่มน้ำเพชรบุรี ผลการศึกษาที่บูรณาการดัชนีทางนิเวศวิทยา เศรษฐสังคมและรูปแบบการใช้ที่ดินนำไปสู่กรอบของแผนการจัดการลุ่มน้ำที่ยั่งยืน ซึ่งมีความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้ This study aims to search for potential econlogical and socio-economic indicators that are able to integrate for the conceptual plan for sustainable watershed management. The area of study was Phetchaburi Watershed divided into three subsystems; the upstream of watershed, the Kaeng Krachan Reservoir, and the downstream of watershed, respectively. The results indicated that the three subsystems had different in existing ecological conditions which the analysis is based on "Input-Output Approach". Allocthonous nutrient loading, the inputs and outputs of nitrate-nitrogen contents of subsystem I, II and III were 47.46 ± 44.04 and 6.77 ± 6.72, and 6.77 ± 6.72 and 4.50 ± 7.16, 4.50 ± 7.16 and 54.20 ± 51.11 / 62.90 ±51.87 ug/l, respectively. While, phosphate-phosphorus contents of subsystem I, II and III were 6.67 ± 5.44 and 2.66 ± 2.24, and 2.66 ± 2.24 and 1.99 ± 3.31, 1.99 ± 3.31 and 84.70 ± 34.98 / 88.96 ± 29.18 ug/l, respectively. These indicated that nutrients in the subsystem I and subsystem III were imbalance while subsystem II was balance in nutrients flux. In considering of chlorophyll a content, it found that chlorophyll a contents had politive correlation with nitrate-nitrogen concentration at the p = 0.05. Chlorophyll a contents were presented different in each subsystem. Chlorophyll a content of the inputs and outputs of subsystem I, II and III were 1.33 ± 0.98 and 9.77 ± 5.22, 9.77 ± 5.22 and 16.16 ±9.69, 16.16 ±9.69 and 93.58 ± 28.91 / 44.35 ± 18.34 mg/m3, respectively. In relation to the whole Phetchaburi Watershed, it was indicated that the watershed lost numerous nutrients from its system. The chlorophyll a content, nitrate-nitrogen and phosphate-phosphorus can be an adequate ecological indicator for monitoring the ecological condition of the watershed ecosystem even in the dominance of phytoplankton group as well as suspended solids were potential ecological indicators for monitoring in each watershed subsystem. The important problems in the watershed are water and soil quality degradation, over fertilization use, which cause by agriculture, soil erosion and increasing human encroachment in upstream from the watershed. To solve these problems, the socio-economic data and land use patterns were considered to integrate base on holistic approach. The socio-economic interviewed 409 in the Phetchaburi watershed. Finally, the results of study integrated ecological and socio-economic indicators and land use patterns to propose the conceptual plan which is appropriate and applicable for sustainable watershed management of the Phetchaburi watershed. |
---|---|
Item Description: | 9741758456 |